วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ทำ FTP Server ใช้ภายในโรงเรียน

ในบทความนี้จะเสนอการทำ FTP Server ไว้ใช้ในระบบ Network โรงเรียนของเรา ย้ำนะครับว่าระบบ Network โรงเรียน ซึ่งเจ้า FTP Server นี้จะสามารถมองเห็นและเข้าถึงได้เฉพาะในวงแลนของเรา โดยการทำ FTP Server นี้ผมจะทำด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนะครับเพราะง่ายดี สามารถจัดการได้สะดวกกว่าการเรียกใช้บริการของวินโดว์ ซึ่งโปรแกรมที่ว่านี้ก็คือ Filezilla Server ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีนะครับสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จาก http://filezilla-project.org/download.php?type=server ต้องดูดีๆนะครับเพราะเจ้า Filezilla นี้มีทั้งแบบที่เป็น Client และ Server เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วก็ทำการติดตั้งตามขั้นตอนดังนี้เลยครับ

1.

เมื่อดับเบิ้ลคลิกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาแล้วจะได้หน้าต่าง ข้อตกลงในการใช้ เราก็กดปุ่ม I Agree ไปเลยครับ

2. ขั้นตอนที่สองโปรแกรมก็จะถามว่าจะติดตั้งโปรแกรมไว้ที่ Folder ซึ่งเราก็เอาตามค่ามาตรฐานที่มันตั้งมาให้เลยครับ ดังรูป


3. ขั้นตอนนี้มันจะถามว่าต้องการให้FileZilla เริ่มทำงานพร้อมกับวินโดว์หรือไม่ ซึ่งเราสามารถเลือกได้นะครับ ไม่จำเป็นต้องเลือกเหมือนผมก็ได้ ซึ่งผมเลือกให้มันทำงานพร้อมวินโดว์ (Default)

ผมเลือกค่า Default ที่โปรแกรมมันตั้งมาให้เลยครับ แล้วกดปุ่ม Install

4. เมื่อติดตั้งโปแกรมเสร็จแล้วโปแรกมก็จะแสดงสาถนะดังรูป 

เราก็กดปุ่ม Close เลยครับ

 

5. เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จจะได้ดังรูป

เป็นการแสดงสถานะของ Server นะครับว่า on หรือยัง

6. ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการจัดการกลุ่มผู้ใช้นะครับ โดยมีวิธีการดังนี้

6.1 กำหนดกลุ่มผู้ใช้

6.2 กำหนด Home Directory ที่ผู้ใช้ในกลุ่มจะใช้ร่วมกัน

6.3 สร้างบัญชีผู้ใช้ โดยจะใส่หรือไม่ใส่รหัสผ่านก็ได้ โดยสามารถกำหนดสิทธิ์(Permission) ได้ด้วย

 ซึ่งขั้นตอนนที่ว่ามานี้สามารถแสดงได้ดังรูป




7. เมื่อทำการจัดการผู้ใช้เสร็จแล้วโปรแกรมก็จะแสดงสถานะดังรูป

8. เสร็จแล้วก็ลองเข้าใช้งาน FTP Server จากเครื่องลูกดูนะครับโดยทำการเปิด MyComputer ขึ้นมาแล้งพิมพ์ ftp://หมายเลขไอพีเครื่อง Server (ftp://192.168.212.154) ลงใน Address Bar แล้วกดปุ่ม Enter โปรแกรมจะฟ้องให้เราใส่รหัสผ่าน ดังรูป  

เมื่อใส่รหัสผ่านเข้าไปแล้วต้องสามารถเข้าถึง Home Directory ที่ตั้งไว้ได้นะครับ ถ้าได้ตามนี้ก็เป็นอันว่าเสร็จ ถ้าไม่ได้ก็ลองอ่านดู Error ที่โปรแกรมมันฟ้องครับ

ที่ผมนำเสนอนี้เป็นเพียงแค่การทำ Ftp Server เอาไว้ใช้ภายในโรงเรียนนะครับ แต่ถ้าท่านต้องการทำไว้ใช้บนอินเทอร์เน็ตก็สามารถทำได้โดยเอาเครื่อง Server มาระบุหมายเลขไอพี ให้เป็น ไอพี จริง แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ แต่ในเรื่องความปลอดภัยว่าจะโดนโจมตีจากผู้หวังดีประสงค์ร้ายหรือไม่ อันนี้ผมไม่รับประกันครับ....หุหุ

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

แก้ไอคอน หน้าจอหาย

คลิกขวาที่หน้าจอ แล้วไปที่ Arrange-->Show Desktop Icons แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ ตามรูปเลยครับ
ถ้าทำแบบนี้แล้วไม่หายก็ลองเข้า Safe Mode แล้วลอง ถอนการติดตั้งโปรแกรมล่าสุดที่คุณได้ติดตั้งลงไป แล้วรีสตาร์ท อันนี้น่าจะช่วยได้  แต่ถ้าทำทั้งสองวิธีแล้วยังไม่ได้ ก็แสดงว่าท่านอาจจะติดไวรัส ซึ่งต้องหาโปรแกรมสแกนไวรัสดีๆมาใช้ก็จะช่วยได้

ดูแลระบบ Network โรงเรียน 10(แชร์อินเทอร์เน็ต) จบ!!

บทความนี้จะเป็นบทความปิดท้ายของการติดตั้ง Internet Gateway โดย Linux SIS นะครับ หลังจากท่านทำตามขั้นตอนสุดท้ายนี้แล้ว ท่านก็จะสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในระบบ Network โรงเรียน ของท่านได้อย่างทั่วถึง ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นในส่วนของการเปิดให้บริการ proxy และเปิดใช้ระบบคัดกรองเว็บเพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนเข้าถึงเว็บที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. ก่อนอื่นเลยต้อง Login เข้าสู่ระบบด้วย Admin จะได้หน้าจอดังรูป

เลือก การจัดการเครือข่าย เลยครับ

2. ขั้นตอนนี้นี้ก็คลิกเลือก การแชร์อินเทอร์เน็ต ดังรูปเลยครับ


3. ขั้นตอนนี้จะเป็น การกำหนดค่าการแชร์อินเทอร์เน็ต ครับ ตามรูปเลยครับ


4. เมื่อกำหนดค่าเสร็จแล้ว ระบบก็จะถามเราว่าเราจะเปิดบริการ proxy ด้วยหรือเปล่า


5. ขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนดค่าเว็บพร๊อกซี่ หรือ proxy cache นั้นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะกำหนดขนาดเท่าไหร่ก็ได้นะครับ แล้วแต่เรา แต่ผมมักจะกำหนดขนาดของ proxy cache เป็น 2 เท่าของขนาดแรม

กำหนดเสร็จก็กดปุ่ม บันทึกและถัดไปได้เลยครับ

6. ขั้นตอนนี้จะเป็นการเปิดใช้ระบบคัดกรองเว็บนะครับ ดังรูป


7. พอเปิดระบบกรองเว็บแล้ว ระบบก็จะถามว่าท่านต้องการเพิ่มรายชื่อเว็บที่จะปิดกั้นหรือไม่ อันนี้ตามใจท่านเลยครับ ดังรูป

ในที่นี้ผมเลือกที่จะเพิ่มรายชื่อเว็บที่จะปิดกั้นนะครับ

8. ต่อเนื่องจากขั้นตอนที่แล้ว  ระบบก็จะถามว่าเปิดใช้งานระบบปิดกั้นมั้ย

9. จากขั้นตอนที่แล้วระบบก็จะถามว่าโดเมนที่จะปิดกั้นเป็นแบบไหน ดังรูป

10. เสร็จจากขั้นตอนที่แล้วระบบก็จะให้เราเพิ่มโดเมนที่ต้องการปิดกั้น ซึ่งสามารถเพิ่มในภายหลังได้เรื่อยๆ

หลังจากทำการเพิ่มโดเมนที่ต้องการปิดกั้นเสร็จก็ถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการแชร์อินเทอร์เน็ตแล้วนะครับ ซึ่งท่านสามารถนำเครื่องลูกข่ายเข้ามาเชื่อมต่อกับไอ้เจ้า Linux SIS ได้เลย โดยทำการจัดการรูปแบบการเชื่อมต่อตามที่ผมได้นำเสนอไปแล้วใน http://iamnetwork-thai.blogspot.com/2008/11/network-4.html .....หลังจากนี้แล้วท่านยังสามารถทำอะไรได้อีกหลายอย่างเพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนของท่าน เช่น ทำระบบ E-Learning โดยติดตั้งไว้ในเครื่องที่ติดตั้ง Linux SIS นี้ หรือทำระบบให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ซึ่งก็แล้วแต่ความต้องการแล้วก็ศักยภาพของท่านที่จะทำนะครับ สำหรับการติดตั้ง Internet gateway โดย Linux SIS ก็นับว่าเสร็จสมบูรณ์แล้วนะครับ ท่านใดที่ติดตั้งตามที่ผมนำเสนอแล้วใช้ไม่ได้ ก็ เมล์มาถามได้นะครับ เอาแบบสร้างสรรค์ นะครับอย่ามาแบบลองภูมิ เพราะผมไม่ได้เก่งขนาดนั้น...........สวัสดีคับ

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดูแลระบบ Network โรงเรียน 9 (DHCP)

ในบทความนี้จะต่อเนื่องจากบทความที่แล้วนะครับ [ ดูแลระบบ Network โรงเรียน 8 (DNS และเกตเวย์ ) ] ซึ่งจะกล่าวถึงการจัดการหมายเลขไอพี ของเครื่องลูกข่าย โดยจะใช้เจ้า Linux SIS นี่แหละครับในการทำ ขั้นตอนก็มีดังนี้ครับ

1. เมื่อ Login เข้าสู่ระบบด้วย Admin จะได้หน้าต่างดังรูปครับ


เลือกที่ การจัดการเครือข่าย เลยครับ

2. ขั้นที่สองก็เลือกที่ DHCP เลยครับ


3. หลังจากขั้นตอนที่แล้วก็จะได้หน้าต่าง การกำหนดค่า DHCP 



เราก็เลือกไปที่ เปิดใช้บริการ DHCP ก่อนเป็นอันดับแรก ในช่องถัดไปสามารถ อธิบายได้ดังนี้

เครือข่าย = หมายเลยเครือข่ายทั้งกลุ่ม ซึ่งเราไม่สามารถเปลี่ยนได้ เพราะ Linux SIS ไม่ยอม

เน็ตเวิร์กมาส์ค = ?? ไม่กล้าบอกกลัวผิด....หุหุ

ช่วง DHCP = ช่วงของ IP Address ที่เราต้องการ จำนวนของเครื่องลูกข่ายที่สามารถให้บรริการได้จะขึ้นอยู่กับตรงนี้

โดเมน = ชื่อของเครื่องที่ให้บริการ DHCP นี้

เกตเวย์= ทางออกสู่อินเทอร์เน็ตที่เครื่องลูกข่ายต้องวิ่งไป โดยปกติแล้วก็จะเป็นเครื่องที่ติดตั้ง Linux SIS นี่แหละครับ

เซิร์ฟเวอร์ชื่อโดเมน= DNS Server โดยปกติแล้วก็จะเป็นเครื่องที่ติดตั้ง Linux SIS นี่แหละครับ

 จากนั้นก็กดปุ่มบันทึกเลยครับ


4. ขั้นตอนนี้จะเป็นการแสดงสถานะว่าได้กำหนดค่า DHCP เรียบร้อยแล้ว ดังรูป


กดตกลงเลยครับ!!

 เท่านี้ก็เรียบร้อยครับสำหรับการเปิดการใช้บริการ DHCP โดยท่านสามารถทดสอบได้โดยนำเครื่องลูกมาต่อเข้ากับเครือข่ายโดยผ่าน hub หรือว่า switch แล้วตั้งค่าที่เครื่องลูกให้รับ IP จาก  Server ถ้าเครื่องลูกได้รับ IP Address ก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้นครับสำหรับงานนี้

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดูแลระบบ Network โรงเรียน 8 (DNS และเกตเวย์ )

ขั้นตอนต่อไปคือการกำหนด DNS  ให้กับเครื่องที่ติดตั้ง LinuxSIS เพื่อทำให้มันสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ Internet ได้ โดยหลังจากขั้นตอนนี้แล้วเครื่องที่ติดตั้ง Linux SIS ต้องเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างน้อยนะครับ ถ้าผิดพลาดไปจากนี้ถือว่าไม่สำเร็จ ต้องกลับไปตรวจสอบดูว่าผิดพลาดไปในขั้นตอนไหน

 1. มาดูขั้นแรกเลยนะครับ หลังจาก Login เข้าสู่ระบบ ด้วย Admin จะได้หน้าต่างดังรูป

เราก็เลือกเข้าไปที่ เมนู การจัดการเครือข่าย

2. ขั้นต่อไปก็เลือกที่ DNS และเกตเวย์ ดังรูป

3. ขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการตั้งค่า DNS และเกตเวย์ของระบบ  ซึ่งค่า DNS และเกตเวย์นี้จะได้มาจาก เอกสารการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตจาก TOT หรือ TT&T หรือ CAT หรือ บริษัทสามารถ อันนี้แล้วแต่ว่าระบบอินเทอร์เน็ตโรงเรียนท่านใช้ ISP เจ้าไหน นะครับ ของผมจะเป็นดังรูปครับ

ตอนท่านไปติดตั้งอย่าไปใส่ค่าต่างๆเหมือนผมนะครับ เพราะมันคนละค่ากัน!! เสร็จแล้วกดปุ่ม บันทึกเลยครับ

4. ขั้นตอนสุดท้ายก็แค่กดปุ่ม ตกลง ดังรูป

แค่นี้ก็เสร็จสิ้นแล้วครับสำหรับการตั้งค่า DNS และเกตเวย์ ซึ่งเครื่องที่ติดตั้ง Linux SIS ต้องเล่นเน็ตได้นะครับ ถ้าเล่นไม่ได้ก็ให้ตรวจสอบดูว่าตั้งค่าอะไรผิดไปหรือเปล่า ถ้าแน่ใจว่าตั้งค่าถูกแล้วก็ลอง สลับสาย LAN ดูครับ......หุหุ อันนี้ผมทำบ่อย ถ้ายังไม่ได้อีกก็โทรหา ISP ดูครับว่ามันมีอะไรผิดพลาดที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือเปล่า............ง่ายมั้ยครับ  ถ้าเป็นเมื่อก่อนรับรองว่าได้ทำกันเป็นวันๆแน่นอน แต่ทุกวันนี้ก็ง่ายแบบนี้แหละครับ 

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดูแลระบบ Network โรงเรียน 7 (Network Configuretion)

ต่อจากบทความที่แล้วเลยนะครับ หลังจากเราติดตั้งเจ้า LinuxSIS เสร็จแล้วก็ลอง Login เข้าใช้ครั้งแรก ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนของการตั้งค่าระบบต่างๆเพื่อให้เจ้า LinuxSIS ทำตัวเป็น Internet Gateway เพื่อให้บริการเครื่องลูกข่ายในระบบ Network โรงเรียน ของเราซะที โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนการตั้งค่าของ LAN Card นะครับ

1. ขั้นตอนแรกหลังจาก Login เข้ามาในระบบด้วย Admin แล้วจะได้หน้าจอดังรูป


คลิกเลือกที่ เมนู การจัดการเครือข่าย เลยครับ

2. พอคลิกเลือก เมนู การจัดการเครือข่าย แล้วจะได้หน้าต่างการใหม่ขึ้นมาให้ท่านเลือกที่ การกำหนดค่าเครือข่าย นะครับ 


3. เมื่อคลิกกำหนดค่าเครือข่ายแล้วจะได้หน้าต่างแสดงสถานะของ LAN Card ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเจอ LAN Card 2 ใบ นะครับ คือ eth0 และ eth1 ดังรูป

โดยในรูปนั้น  eth0 จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ นั่นเป็นเพราะว่า LAN Card ใบนี้ถูกสงวนไว้ใช้ในวงแลนภายในระบบ Network โรงเรียน ของเรานะครับ ส่วน eth1 นั้นท่านสามารถกำหนด IP Address ได้ว่าเป็นแบบไหน โดยถ้าเป้นระบบดาวเทียม IP Star ก็จะเป็น IP แบบ Static นั้นคือท่านต้องกำหนดเองซึ่งท่านจะได้รับมาจากช่างของ TOT หรือว่า บริษัทสามารถ  แต่ถ้าอินเทอร์เน็ตโรงเรียนท่านเป็นแบบ ADSL ท่านก็สามารถเลือกให้เป็น IP แบบ อัตโนมัติได้เลย เพราะท่านจะได้รับ IP มาเป็นแบบ Dynamic  ในที่นี้ระบบ Network โรงเรียน ผมเป็นแบบ Hi-net และได้รับ Public IP มา 1 ชุด ผมเลยกำหนด IP เป็น 203.172.252.218 และมี เน็ตเวิร์กมาส์คเป็น 255.255.255.248 ซึ่งของ  โรงเรียนท่านต้องเป็นค่าอื่นนะครับไม่ใช่ค่านี้ ตั้งค่าเสร็จแล้วก็กดปุ่มบันทึกเลยครับ

4. เมื่อกดบันทึกแล้วถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ก็จะได้หน้าต่างดังรูปครับ

ซึ่งเท่านี้ก็เรียบร้อยครับ แต่ว่าเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ Network โรงเรียนของท่านจะยังใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้นะครับ เพราะขั้นตอนนี้เป็นเพียงการกำหนดค่าเครือข่ายให้เจ้า Linux SIS เท่านั้นเอง ซึ่งหลังจากขั้นตอนนี้แล้วเสร็จ ตัวเครื่อง LinuxSIS ต้องเล่นเน็ตได้ก่อนนะครับ ถ้าไม่ได้ก็ลอง สลับสาย LAN ระหว่าง eth0 กับ eth1 ดูครับ ส่วนการตั้งค่าในส่วนต่อไปผมจะขอนำเสนอในบทความต่อไปครับ

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดูแลระบบ Network โรงเรียน 7 (LinuxSIS First Login)

ในบทความนี้จะเป็นบทความต่อเนื่องจากบทความที่แล้ว ซึ่งจะเป็นในส่วนของการเข้าใช้งาน Linux SIS ครั้งแรก ซึ่งสาระสำคัญคือท่านต้องทำการเปลี่ยน Username ของ root และ admin เพราะในการเข้าใช้ครั้งแรกนั้นเราสามารถเข้าสู่ระบบได้โดย username และ password ที่ทางผู้พัฒนา Linux SIS กำหนดไว้คือ username=root และ password=123456  ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยท่านต้องเปลี่ยนค่า username และ  password ดังที่กล่าวมา  โดยขั้นตอนต่างๆผมจะนำเสนอประกอบรูปภาพดังนี้

1. เข้าสู่ระบบครั้งแรกจะได้หน้าจอดังรูป

เข้าสู่ระบบด้วย Username=root  และ password=123456    แล้วเคาะปุ่ม enter

 จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอที่เป็น text mode เราสามารถเรียกโหมด กราฟฟิกได้โดย พิมพ์คำสั่ง startx เข้าไปแล้วเคาะปุ่ม enter

** ของผมมันขึ้น cmd error  เพราะว่าผมลงใน VmWare นะครับ  เวลาท่านไปลงจริงอาจจะไม่มี  error ฟ้องเหมือนผมนะครับ อย่าได้ตกใจ

2. ทำการเลือกภาษาในการแสดงผล ดังรูป

ในที่นี้ผมเลือกภาษาไทยนะครับ  ใครไม่ถนัดภาษาไทย จะเลือกภาษาอังกฤษ ก็ได้นะครับ ไม่ว่ากันนน


3. มันจะเตือนเรื่องระบบความปลอดภัยนะครับ

เราก็กดปุ่ม Continue ไปเลยครับ

4. ขั้นตอนนี้ก็ทำการเปลี่ยน password ของ root นะครับ  อยากได้อะไรก็ตามใจท่านได้เลย แต่อย่าลืมนะครับจำไว้ให้ดีๆ


5. ทำการเปลี่ยน password ของ Admin สามารถตั้งได้ตามใจท่านเหมือนกัน 

 ข้อควรจำ Admin นี้จะสามารถทำการปรับแต่งระบบการใช้งานของ LinuxSISได้สะดวกกว่า root นะครับ   ซึ่งผมก็เพิ่งเคยเ ห็น ใน LinuxSIS นี่แหละ ที่ให้สิทธิ Admin ในการปรับแต่งมากกว่า Root แต่โดยหลักแล้ว Root ยังสามารถทำทุกอย่างในระบบได้อยู่แล้วนะคับ เพียงแต่ว่าใน LinuxSIS นั้นการปรับแต่งระบบด้วย root อาจะไม่สะดวกสบายเหมือน Admin เท่านั้นเอง

6. ขั้นตอนนี้มันจะฟ้องว่า ใบรับรองความปลอดภัยของเราหมดอายุ แล้วเราต้องการทำการปรับแต่งระบบต่อหรือไม่   เราก็กดปุ่ม continue เลยครับ

7. ขั้นตอนนี้มันจะฟ้องว่า ไม่รู้จัก Certificate ของเรา    เราก็ไม่ต้องสนใจครับ  OK ต่อไปได้เล้ยยยย   Yes Man!!


8. สุดท้ายก็จะได้ หน้า Login เพื่อเข้าไปปรับแต่งการใช้งานของ LinuxSIS

อย่างที่ผมบอกไว้ในข้อ 5 ว่าเข้าด้วย Admin ถึงจะปรับแต่งอะไรได้   แต่ถ้าใครไม่เชื่อจะเข้าด้วย root ลองดูก็ได้นะครับ ไม่ว่ากัน แต่ผมจะเข้าเป็น Admin ดังรูป


9. เมื่อทำการ Login ด้วย Admin แล้วจะได้หน้าต่างการปรับแต่ดังรูป


ทุกขั้นตอนที่ว่ามานี้เราดำเนินการทำงานต่างๆโดยผ่านเว็บบราวเซอร์นะครับ แต่มันจะแสดงผลเป็นแบบ Full Screen ท่านใดไม่ชอบก็กดปุ่ม F11 เพื่อกลับสู่โหมดปกติได้ครับ

ในบทความนี้ผมจะนำเสนอเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ  ในส่วนของการปรับแต่งให้ LinuxSIS ทำงานเป็น Internet Gateway นั้น  ผมจะนำเสนอในบทความถัดๆไปครับ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดูแ ลระบบ Network โรงเรียน 6(ติดตั้ง Linux SIS)

หายไปนานนะครับสำหรับการอัฟบล๊อก ที่หายไปเพราะติดงานจริงๆครับยุ่งมั่กๆเพราะเปิดเทอมใหม่ ไม่ได้หายไปกับม๊อบใดๆแน่นอน…..ซึ่งกลับมาครั้งนี้ผมก็อยากจะนำเสนอการทำให้ Network โรงเรียนสามารถใช้งานได้จริงๆ ด้วยการติดตั้ง Internet Gateway ให้ทำหน้าที่บริการ การเข้าถึง Internet ของผู้ใช้ภายในโรงเรียน โดยไอ้เจ้า Internet Gateway นี้จะมีบริการหลักๆอยู่ดังนี้ 

          1. NAT ซึ่งหมายถึงอะไรก็ขอให้กลับป่านบทความที่ผ่านๆมา 
          2. DHCP ย้อนกลับไปดู ท้ายข้อที่ 1 
          3. Proxy ย้อนกลับไปดูท้ายข้อที่ 2   อิอิ

โดยโปรแกรมที่จะใช้ในการนี้ก็คือ Linux SIS 5.5 ของทาง Nectec เค้า ซึ่งจะว่าไปแล้วไอ้เจ้า Linux SIS นี้ก็มีความสามารถหลายอย่างพอสมควร อีกทั้งยังติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย ถ้าท่านใช้งาน Linux SIS มากกว่าที่ผมกล่าวมาในข้างต้นก็สามารถทำได้โดย เข้าไปหาคู่มือ Linux SIS ในเว็บไซต์ได้ ที่ไม่เอาลิงค์มาให้เพราะผมจะเว็บที่ว่านี้ไม่ได้แล้วนั้นเอง.....ก่อนอื่นต้องมาดูรูปแบบการเชื่อมต่อก่อนครับว่าเราจะเอาไอ้เจ้าเครื่องที่ติดตั้ง Linux SIS ไว้ตรงไหนของ Network โรงเรียน ของเรา


จากรูปนะครับ ผมจะวางไอ้เจ้า Linux SIS ไว้หลัง Switch หรือว่าหลัง Consumers box (สำหรับโรงเรียนใดที่ไม่มีโทรศัพท์) ซึ่งเครื่องทีค่จะติดตั้ง Linux SIS นี้ต้องมี LAN สองใบนะครับ ส่วนสเปกต่างๆของเครื่องก็ เอาตามกำลังของโรงเรียนนะครับ มีกำลังมากหน่อยก็เล่น Server ของจริงไปเลยซึ่งราคาปัจจุบัน มีเงิน สองหมื่นปลายๆ ก็ได้แล้วครับ ถ้ากำลังน้อยหน่อยก็เอา PC ธรรมดานี่แหละ สเปก P4+RAM 512+HDD 40 GB ราคาหลัก พัน ก็น่าจะพอแล้วหล่ะครับ 

ขั้นตอนการติดตั้ง Linux SIS

1. ต้องไปตั้งค่าใน BIOS ของเครื่องก่อนนะครับว่าให้มันบู๊ทจากแผ่น จากนั้นก็ใส่แผ่น Linux SIS เข้าไปใน CD-ROM แล้วเปิดเครื่อง มันก็จะบู๊ทและทำงานไปเรื่อย และก็จะถามว่าคุณจะทำอะไร ดังรูป 



เราก็เลือก Install Linux SIS 5.5 แล้วเคาะ Enter ถ้าใครที่เชี่ยวๆหน่อยก็เลือกติดตั้งแบบ texe mode ก็ได้นะครับ อันนี้ไม่ได้ห้าม

2. จากขั้นตอนที่แล้วเมื่อเราเคาะ Enter แล้วก็กดปุ่ม Next มันก็จะถามว่าจะให้ลบข้อมูลเลยมั้ย คือจะ ฟอร์แมท พาร์ทิชั่นให้เรานั่นเอง ดังรูป


เรากดปุ่ม Yes  แล้วตามด้วย ปุ่ม Next โลด


3. ขั้นตอนนี้จะเป็นการเริ่มแบ่งพาร์ทิชั่นของ ฮาร์ดดิสก์ โดยผมสร้าง / (root) อ่านว่า รูทพาร์ทิชั่น เป็นอันดับแรก โดยกำหนดขนาดเป็น 4096 MB แต่ในรูปดันเป็น 512 MB อันนั้นกำหนดผิดอ่ะครับแต่ไม่ได้เปลี่ยนรูป อย่าสงสัยเรื่องขนาดครับ เพราะผมก็ไม่รู้รายละเอียด(ผมจะรู้อะไรๆก็ต่อเมื่อผมติดปัญหา  ตอนนี้ไม่ติดอะไรผมก็เลยกำหนดส่งๆไป แค่นั้นเองแหละครับ)

จากขั้นตอนที่แล้วก็กด New เลยครับ จะได้หน้าตาดังรูปนี่แหละ ตรง Mount Point เราก็เลือก / แล้วก็เลือก File System Type เป็น ext3 ขนาดก็ตามที่บอกไว้ข้างบนครับ

4. ขั้นตอนนี้ก็สร้าง /boot พาร์ทิชั่นต่อเลยครับ ตามรูป

5. ขั้นตอนนี้ก็เป็นการสร้าง swap นะครับ  ขั้นตอนก็เหมือนขั้นตอนที่ผ่านมา เพียงแค่เปลี่ยน File System Type จาก ext3  เป็น swap ดังรูป

กำหนดขนาด swap ให้มีขนาดเป็น สองเท่าของ RAM นะครับจะดีที่สุด(เค้าว่างั้นนะ)

6. ขั้นตอนนี้ก็สร้าง /home พาร์ทิชั่น  ดังรูป

โดยกำหนดขนาดให้มันขยายได้เต็มพื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์

7. เมื่อสร้างพาร์ทิชั่นเสร็จแล้วก็จะแสดงรายงานขึ้นมา ดังรูป

เสร็จแล้วก็กด Next โลด

8. ขั้นตอนนี้มันจะถามว่าเราจะติดตั้ง Boot Loader หรือไม่ เราก็ติดตั้งไปเหอะ กดปุ่ม Next โลด ดังรูป

9. ติดตั้ง Boot Loader เสร็จแล้วมันก็จะตรวจเช็ค packet ที่ต้องการในการติดตั้งแล้วเริ่มการติดตั้ง  ดังรูป

เราก็นั่งรอไปเรื่อยๆจนกว่ามันจะทำการติดตั้งเสร็จ

10.เมื่อติดตั้งเสร็จมันก็จะแสดงผลดังรูป

เราก็เอาแผ่นติดตั้งออกแล้วกด reboot โลด

 

เท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการติดตั้งครับ ไม่ยากใช่มั้ยครับ แต่บางคนก็จะกลัวว่า เฮ้ย !! มันเป็น ลินุก  มันยากนะ  ซึ่งผมขอบอกเลยว่า ถ้าพูดคำนี้เมื่อ 7-8 ปีที่แล้วยอมรับครับว่าจริง  แต่ทุกวันนี้ไอ้เจ้า Linux ชักจะเหมือน วินโดว์เข้าไปทุกที  เพราะติดตั้งก็ง่าย ใช้งานก็ง่าย จนทุกวันนี้ผมไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่า Linux ยาก ฉะนั้นอย่ากลัวครับ   ก้าวต่อไป!! (คุ้นๆแหะ)