วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ดูแลระบบ Network โรงเรียน 3

ในบทความที่แล้วผมพูดถึงความรู้พื้นฐานที่ผู้ดูแลระบบของโรงเรียนต้องรู้ และในวันนี้ผมก็จะนำเสนอในส่วนของรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนต่างๆที่ผมได้ประสบพบเจอมา ว่ามีรูปแบบอะไรบ้าง

1. ADSL Broadband เป็นรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มีใช้ในโรงเรียนในเมือง ส่วนโรงเรียนในชนบทหมดสิทธิ์ครับ สำหรับโรงเรียนใดที่มีการเชื่อมต่อแบบนี้ นับได้ว่าโชคดีครับ เพราะไม่ว่าจะเรื่องความเร็วของสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือจะเป็นเรื่องความเสถียร นั้น ADSL กินขาดรูปแบบอื่นๆครับ สำหรับผู้ดูลแระบบนั้นก็นับว่าง่ายในการจัดการ เ พราะท่านอาจจะไ ม่ต้องทำอะไ รเ ลยก็ไ ด้ เ พียงแ ค่ติดตั้ง ADSL Router ใ ห้สามารถเ ชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้ได้ แล้วก็จัดการเสียบสาย LAN เข้ากับระบบเครือข่ายเดิมของโรงเรียนที่ท่านได้ทำไว้แล้ว เพียงแค่นี้ทุกๆเครื่องในโรงเรีัยนก็จะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่องโดยท่านไม่ต้องเสียเวลาในการติดตั้ง Server ต่างๆทั้ง Internet Gateway, DHCP Server, Proxy Server เพราะโดยปกติแล้ว ADSL Router จะสามารถให้บริการพื้นฐานต่างๆเหล่านี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าท่านอาจจะไม่สามารถไปจัดการอะไรได้มากเท่ากับท่านทำ Server เอง

2. IP Share เป็นรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เ น็ตแ บบเก่าที่โรงเรียนได้รับจัดสรร โดยอุปกรณ์จะมีอยู่ 2 ส่วน คือในส่วนที่เป็น Modem และส่วนที่เป็น IP Share โดยในส่วนหลังนี้จะเป็นตัวจัดการ IP ซึ่งโดยปกติแล้วตัวนี้จะแจก IP ออกไปประมาณ 25 เบอร์ เพราะรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบนี้ไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ได้มากเท่าไหร่ เพราะความเร็วของอิเนเทอร์เน็ตจะอยู่ที่ 56-128 kbps

3.IP Star เป็นรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่แพร่หลายมาก เพราะสามารถเข้าถึงโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่โครงข่ายโทรศัพท์ยังเข้าไปไม่ถึง โดยทั่วไปแล้วอุปกร์จะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นจานดาวเทียม และ ส่วนที่เป็นตัวรับส่งสัญญาณดาวเทียม Consumer Box ซึ่ง IP Star นี้จะทำการกำหนด Public IP ให้แต่ละโรงเรียนประมาณ 7 IPโดยใช้ได้จริง 5 IP เพราะเสียไป 2 IP คือในส่วนของ IP Gateway และ Boardcast IP และโดยมากแล้วผู้ดูแลระบบที่ยังไม่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการระบบเครือข่ายนั้น จะบอกว่า ได้ IP มา 5 เบอร์ มันก็ใช้อินเทอร์เน็ตได้แค่ 5 เครื่อง อันที่จริงก็ถูกเพราะมันใช้ได้ 5 เครื่องจริงๆถ้าไม่ีมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งรูปแบบการเชื่อมต่อนี้นับได้ว่า ผู้ดูแลระบบของโรงเรียนนั้นสามารถบริหารจัดการได้อย่างหลากหลาย ตามศักยภาพของตนเอง โดยท่านสามารถใช้ 1 IP ในการทำ Internet Gateway+DHCP+Proxy+Firewall ใ้ห้เด็กนักเรียนใช้โดยสามารถป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้ด้วย SquidGard แล้วใช้อีก 1 IP ในการทำ Internet Gateway+DHCP+Proxy+Firewall ให้กับคณะครูผู้สอนและู้บริหาร ซึ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของครูและนักเรียนจะสามารถบริหารจัดการได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งการทำเพียงเท่านี้ก็นับว่าเพียงพอแล้วสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก-กลาง แต่ถ้าความเร็วของอิเนเทอร์เน็ตสูงพอที่จะทำ Web Server ได้ท่านก็สามารถนำอีก 1 IP มาจัดการติดตั้ง Apache เพื่อทำ web Server ของโรงเรียนโดยไม่ต้องไปเช่าพื้นที่ Host ให้เปลืองเงินโรงเรียน แต่ท่านต้องแน่ใจว่าความเร็วอินเทอร์เน็ตของท่านต้องเร็วพอ(2 Mbps ทั้ง Upload และ DownLoad เป็นอย่างน้อย )

4. Hi-Speed Internet ( Frame Relay ) เป็นรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบใหม่ที่จะมีใช้เฉพาะโรงเรียนโครงการพิเศษต่างๆ เช่น โรงเรียนในฝัน หรือ โรงเรียนดีใกล้บ้าน ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะมีความคล้ายคลึงกันกับ IP Star ต่างกันตรงที่ IP Star ใช้จานดาวเทียมในการ รับ-ส่งสัญญาณ แต่เ จ้า Hi-Speed Internet ( Frame Relay ) ใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาๆนี่แหละ แต่เชื่อมไปยังตู้ชุมสาย CDMA ของ CAT โดยตรงแล้ววิ่งจากตู้ชุมสายผ่าน Firber optic เข้ากรุงเทพโดยตรง ทำให้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตนั้นจะสูงกว่ารูปแบบอื่นๆ(ที่ Speed เท่ากัน ) ซึ่งโดยปกติแล้วอุปกรณ์การเชื่อมต่อจะมีสองส่วน โดย ส่วนแรกจะเป็น Frame Relay Modem และ Router โดยปกติจะเป็นของ Cisco 1841 ซึ่งผู้ดูแลระบบของโรงเรียนจะไม่ได้รับอนุญาติเข้าแก้ไขหรือปรับแต่ง Router แต่ถ้าท่านอยากทำแนะนำให้ไปลองหาโปรแกรมจำลองการทำงานของ Cisco Router มาลองเล่นดูแล้วท่านจะพบวิธีการเข้าไปจัดการเอง ส่วนการจัดการอื่นๆท่านสามารถทำได้เหมือนกับ IP Star ทุกประการ เพราะได้ Public IP มา 7 IP เหมือนกัน

สรุปนะครับว่ารูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนในประเทศไทยจะมีอยู่ 4 รูปแบบใหญ่ๆนี้ น้อยมากที่จะมีการเชื่อมต่อแบบ Lease Line เพราะการเชื่อมต่อแบบนี้แพงมาก เมื่อท่านอ่านบทความนี้แล้วท่านก็ลองไปวิเคราะห์ดูว่าโรงเรียนของท่านมีรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นแบบใด และท่านจะสามารถทำอะไรได้บ้างในการบริหารจัดการ ซึ่งการติดตั้ง Server ต่างๆเพื่อให้บริการในโรงเรียนนั้นผมจะได้นำเสนอในบทความต่อๆไป

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ดูแลระบบ Network โรงเรียน 2

ในบทนี้จะกล่าวถึงความหมายของคำว่าระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต โดยจะไม่เจาะลึกลงไปในประวัติของมันอย่างที่หนังสือหลายๆเล่มทำ เพราะผู้เขียนมองว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้มีความจำเป็นต่อเราเลยในการติดตั้งและดูแลระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน เว้นเสียแต่ว่าจะนำไปใช้ในการสอน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ(Connected)กันเพื่อใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลและสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ทั้งนี้อุปกรณ์ที่จะนำมาเชื่อต่อนั้นสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง(Direct)หรืออาจมีอุปกรณ์ตัวกลางมาทำหน้าที่ในการจัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก เป็นการเชื่อมต่อในหลายๆรูปแบบ โดยมีอุปกรณ์ตัวกลางที่อยู่ในแกนของเครือข่าย(Core Network)ทำหน้าที่ในการจัดการเชื่อมต่อ ซึ่งบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีการให้บริการหลายๆอย่างที่เราคุ้นเคย เช่น www, E-mail, FTP,Game Online, E-Comerce, Video Conferrencing....etc. ซึ่งบริการเหล่านี้มีประโยนช์มากทั้งต่อตัวเราเองและผู้เรียน ซึ่งเราสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผ่านอินเทอร์เน็ตได้ด้วยวิธีการที่เราคุ้นเคยคือ E-Learning

ศัพท์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ควรรู้ ในการเขียนบทความครั้งนี้ ผู้เขียนมีความมุ่งหวังว่า เมื่ออ่านบทความนี้แล้วผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนของตนเองได้จริง โดยไม่ต้องสับสนระหว่างทฤษฏีกับการปฏิบัติจริงเหมือนๆกับที่หนังสือหลายๆเล่มได้สร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน ดังนั้นในหัวข้อนี้ผู้เขียนจึงขอนำเสนอ คำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านมีความกระจ่างมากขึ้นเมื่อไปเจอในสถาณะการณ์จริงในการปฏิบัติงาน

1. Bit คือหน่วยสัญญาณทางไฟฟ้า มีค่าเป็น 0 กับ 1 ที่มีค่าเป็นเช่นนี้เพราะว่า ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นแบบดิจิตอลโดยอาศัยการคำนวนเลขฐาน 2(0กับ1) แต่การส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นอาศัยสัญญาณทางไฟฟ้า ดังนั้นการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจการสื่อสารระหว่างกันที่เป็นสัญญาณไฟฟ้านั้นจำเป็นต้องมีการแทนค่าของสัญญาณไฟฟ้า โดยให้ค่า ศักย์ไฟฟ้าต่ำ=0 ศักย์ไฟฟ้าสูง=1 หรืออาจจะกำหนดค่าสลับกันแล้วแต่ข้อตกลง(Protocol)ของการสื่อสารนั้นๆ
2.Bandwidth คือ ความกว้างของช่องสัญญาณที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งแบนวิดธ์นี้อาจจะไม่เท่ากันในช่วงเวลาที่ต่างกัน ถ้าจะอธิบายคำว่าแบนวิดธ์ให้เข้าใจง่ายๆก็จะเปรียบได้กับ ถนนที่เราใช้เดินทางนั้นเอง ถ้าถนนกว้างรถก็สามารถวิ่งได้ทีละหลายคัน ส่งของได้ที่ละเยอะๆ เช่นเดียวกัน ถ้าแบนด์วิดธ์กว้าง(เยอะ)ก็จะทำให้สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายได้เยอะ มีหน่วยเป็น bps, Kbps, Mbps คือ Bit per Second, Kilo bit per second, Mega bit per Second ตามลำดับ

3.IP Address คือ หมายเลขประจำเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่าย เมื่อใดก็ตามที่เราต้องเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายเราก็จะได้หมายเลขประจำเครืองนี้มา เปรียบได้กับเมื่อคนเราเกิดมาก็จะมีการแจ้งเกิด แล้วก็จะได้หมายเลขประจำตัวประชาชนมา 13 หลัก เพื่อเป็นการระบุตัวตนของเราและระบุคุณลักษณ์ต่างๆ ซึ่งหลักการนี้ก็ถูกนำไปใช้ในการระบุตัวตนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชือมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่ง IP Address นี้มีอยู่หลาย Class ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึงในที่นี้เพราะเราไม่สามารถทำอะไรกับ IP Address ที่กระทรวงแจกมามากนัก ที่เราจะได้ใช้มากและสมควรทำความรู้จักกับ IP ก็คือในส่วนของ ประเภท IP Address ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ
3.1. Public IP Address เป็น IP Address ที่ถูกกำหนดมาให้โดยองค์กรที่ความคุมการเชื่อมต่อ ซึ่งองค์กรใดก็สามารถขอ IP Address ได้ แต่อาจะได้มาไม่เท่ากันทั้งนี้ขึ้นออยู่กับว่าองค์กรนั้นๆมีความต้องการ IP Address มากแค่ไหน ซึ่ง Public IP Address นี้จะไม่ซ้ำกับ IP Address ใดเลยในโลกนี้ ซึ่งทุกคนไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก เมื่ออ้างถึง IP Address นี้แล้วก็จะวิ่งเข้ามาที่เครื่องนี้ได้โดยตรง ตัวอย่าง Public IP Address เช่น 203.172.151.145, 66.10.234.18
3.2. Private IP Address เป็น IP Address ที่กำหนดขึ้นใช้เองในองค์กร อันเนื่องมาจาก Public IP Address ที่ได้รับมานั้น ไม่เพียงพอต่อการใช้งานในองค์กร ทำให้เกิดการกำหนด IP Address ขึ้นมาใช้เอง โดยเจ้า Private IP นี้คนทั้งโลกจะไม่รู้จัก ถ้าต้องการติดต่อกับ Private IP นี้จำเป็นต้องมีตัวแปลงจาก Private IP ให้เป็น Public IP เสียก่อนซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อถัดไป ตัวอย่าง Private เช่น 192.168.212.12, 192.168.0.15, 192.168.1.25

4. NAT ในที่นี้ไม่ใช่น้องแนท ที่หลายๆคนคุ้นเคยนะครับ แต่ NAT ในที่นี้คือ Network Address Translator แปลตามตัวก็คือตัวแปลที่อยู่ระบบเครือข่ายนั่นเอง ซึ่งน้องแนทนี่แหละครับที่มีหน้าที่ในการแปลง Public IP Address ให้เป็น Private IP Address และแปลงจาก Private IP Address ให้เป็น Public IP Addressเพื่อติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก

5.Server, Host คือเครื่องที่ให้บริการต่างๆในระบบเครือข่ายเช่น web Server จะหมายถึงเครื่องที่ให้บริการเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ก็จะตั้งอยู่บน web Server, File Server จะหมายถึงเครื่องที่ให้บริการไฟล์ข้อมูลต่างๆบนเครือข่าย ส่วนทีมีการเรียก Server สลับกับ Host นั้น ที่จริงแล้วง 2 คำนี้เป็นคำที่ใช้ด้วยกันแต่ความหมายไม่เหมือนกัน คือ Server มีความหมายว่าเครื่องให้บริการ แต่ Host มีความหมายว่าเครื่องที่ถูกอาศัย คือถูกบริการนั้นๆอาศัย เช่น เว็บไซต์ A ตั้งอยู่บน web Server B อาจจะกล่าวได้ด้วยว่า Server B เป็น Host เพราะถูกอาศัยด้วย เว็บไซต์ A

6.DNS คือระบบการแปลหมายเลขประจำเครื่อง(IP Address) ให้เป็นชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือชื่อเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายที่มนุษย์เข้าใจ(www.abcd.com) และแปลชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นหมายเลขประจำเครื่อง ซึ่ง DNS Server ในโลกนี้มีอยู่ 13 เครื่องหลักๆ ที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุดอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น บางท่านอาจจะแย้งว่าที่ TOT, Nectec, CAT หรือที่กระทรวงก็มี DNS Server ทำไมผู้เขียนถึงบอกว่ามีแค่ 13 เครื่อง อันที่จริงที่บอกว่าในประเทศไทยก็มีนั้นไม่ผิดครับ เป็นเรื่องจริง แต่ที่เรามีนี้เป็น DNS Server ที่เรียกว่า Local DNS คือ DNS ท้องถิ่นครับซึ่งตัว Local DNS นี้เราสามารถติดตั้งเองก็ได้ แต่ถึงอย่างไรแล้ว Local DNS ก็จำเป็นต้องอ้างถึง DNS Server หลัก 13 ตัวที่ผมว่ามาอยู่ดี ส่วนระบบการทำงานของ DNS นั้นผู้เขียนไม่ขอกล่าวถึงเพราะมันไม่ได้มความจำเป็นเท่าไหร่ในการทำงานภายในโรงเรียนของเรา เว้นเสียแต่ว่าท่านต้องการศึกษาอย่างละเอียด ซึ่งผมจะได้ยัดไว้ในหนังสือที่ผมจะเขียน
ตัวอย่างหมายเลข IP Address ของเว็บไซต์ต่างๆ www.thairath.co.th=203.151.217.76, www.google.co.th=209.85.175.147, www.loei2.net=202.142.212.3 ซึ่ง IP Address เหล่านี้ล้วนแต่เป็น Public IP Address ทั้งสิ้น

7.DHCP ในการติดตั้งระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน นอกจากจำเป็นต้องมี Public IP Address แล้ว เราจำเป็นต้องมีการกำหนด Private IP Address เพราะว่า IP Address ที่ทาง สพฐ. ให้เรามานั้นจะมีเพียง 5 ตัว ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของเรา ดังนั้นการกำหนด Private IP จึงมีความจำเป็น ซึ่งเครื่องมือที่เราจะนำมาใช้ในการกำหนดและความคุม IP Address ในโรงเรียนของเราก็คือ DHCP(Dynamic Host Control Protocol) ซึ่งได้เจ้า DHCP นี้จะมีหน้าที่ในการแจกจ่าย IP Address ให้กับเครื่องลูกข่ายที่อยู่ภายในเครื่อข่าย ทั้งยังคอยเฝ้าดูว่าเครื่องลูกข่ายยังทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีการเชื่อมต่อแล้ว DHCP Server ก็จะทำการยกเลิก IP Address ของเครื่องลูกข่ายนั้น
8.Internet GateWay ในการเชื่อมต่อเข้าสูระบบอินเทอร์เน็ตนั้น แต่ละโรงเรียนจะได้รับการจัดสรร Public IP Address มาเพียง 5 หมายเลข ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานภายในโรงเรียน เพราะบางโรงเรียนที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมพบว่า มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายสิบเครื่อง แต่เครื่องที่ใช้อินเทอร์ได้จริงๆกลับมีแค่ 5 เครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายแทนเด็กๆที่เสียโอกาสในการศึกษาหาความรู้ในโลกอินเทอร์เน็ตอันกว้างใหญ่ ดังนั้นเราจำเป็นต้องทำการติดตั้ง Internet GateWay ขึ้นมาเพื่อให้เป็นประตูสู่ทางออกอินเทอร์เน็ตของเรา โดยตัว Gateway นั้นจะใช้ Public IP Address เพียงแค่ 1 ตัวเท่านั้นในการเข้าสู่อินเทอร์ ซึ่ง Gate Way นั้นจะมีส่วนประกอบหลักๆอยู่ 3 หลักๆคือ
7.1. NAT หรือน้องแนทของหลายๆคน เอาไว้แปลง Public IP Address เป็น Private IP Address ที่เรากำหนดขึ้น
7.2 DHCP Server เอาไว้ใช้ในการบริหารจัดการ Private IP Address ที่เรากำหนดขึ้นใช้ในโรงเรียน โดยไม่ได้จำกัดไว้ที่ 5 หมายเลขเหมือนเดิม
7.3 Proxy Server เอาไว้ช่วยในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตให้เร็วขึ้น ซึ่งหลักการทำงานของ Proxy จะกล่าวอย่างละเอียดในบทถัดไป

ทั้ง 3 ส่วนประกอบหลักนี้สามารถติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันก็ได้ หรือติดตั้งไว้คนละเครื่องก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรัพยากรของแต่ละโรงเรียนว่ามีศักยภาพมากแค่ไหน ซึ่งผู้เขียนเองก็ ติดตั้งทั้งหมดไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว(ประหยัดดี) ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานก็อาจจะไม่สามารถเทียบได้กับการแยกไว้คนละเครื่อง แต่ผู้เขียนมองว่าในองค์กรระดับโรงเรียนนั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดตั้งไว้แยกกัน แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่ๆ ก็สมควรที่จะแยกส่วนต่างๆเหล่านี้ไว้คนละเครื่อง เพื่อความปลอดภัยของระบบ และเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ

เมื่อมาถึงตรงนี้แล้วผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะสามารถมองออกแล้วว่า จะทำอย่างไร ให้โรงเรียนของท่านสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้มากกว่า 5 เครื่องซึ่งในบทต่อไปเรามาดูกันว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบเครือข่ายนั้นมีอะไรบ้าง

ดูแลระบบ Network โรงเรียน 1

เนื้อหาที่จะกล่าวในบทนี้จะไปปรากฏอยู่ในหนังสือ"การดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในโรงเรียน"ที่ผู้เขียนบทความกำลังเขียนขึ้นมาเพื่อหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเพื่อนครูที่ รับหน้าที่เป็นผู้ดูและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน

กล่าวได้ว่าในปัจจุบันนี้ เราไม่สามารถปฏิเสธเทคโนโลยีที่กำลังหลั่งไหลเข้าสู่สถานศึกษาของรัฐ ซึ่งอาจจะหลั่งไหลมาโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม แต่เราในฐานะผู้ปฏิบัติงานก็ต้องทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวเกิดประโยนช์กับผู้เรียนให้มากที่สุด ให้สมกับที่รัฐลงทุนมาให้เรา ซึ่งบางคนอาจจะบ่นว่ารัฐลงทุนเฉพาะอุปกรณ์โดยไม่ลงทุนในเรื่องบุคคลากร ที่เป็นแบบนี้ผู้เขียนมองว่า รัฐคงมองแล้วว่าคนที่จะดูแลระบบเครือข่ายของโรงเรียนนั้นต้องเป็น"ครู" ซึ่งครูนั้นโดยทั่วไปแล้วต้องมีคุณลักษณ์พิเศษกว่าอาชีพอื่นคือ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้ และบทความนี้เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่จะสามารถช่วยพี่น้องเพื่อนครูได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งกล่าวได้ว่าบทความที่จะปรากฏในที่นี้ เป็นเนื้อหาร่าง(Draft) ของหนังสือที่ผู้เขียนจะเขียน(อาจจะขาย) ซึ่งภายในเนื้อหาของหนังสือจะประกอบไปด้วย สิ่งต่างๆที่ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนจำเป็นต้องรู้ คือ
1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
2.ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของโรงเรียน
3.การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
4.ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(NOS)
5.การจัดการทรัยากรเครือข่ายด้วยเครื่องแม่ข่าย(Server)
6.Internet Gateway
7.การจัดการหมายเลขผู้ใช้(IP Address)
8.การจัดการระบบอินเทอร์เน็ตด้วยพร๊อกซี่
9.ระบบการค้นหาชื่อเว็บไซต์ด้วย DNS
10.การแบ่งปันทรัพยากรผ่านระบบเครือข่าย
เหล่านี้คืออาวุธเบื้องต้นที่ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปต้องรู้ ซึ่งเนื้อหาที่ผู้เขียนจะเขียนขึ้นนี้เป็นเนื้อหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานจริงในโรงเรียน ซึ่งน่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนอื่นๆที่มีระบบเครือข่ายเหมือนหรือแตกต่างกัน ซึ่งจะได้ระบุไว้ในรายละเอียด ในบทต่อไป

แยกเน็ต แยกเกมส์ กับ LinkSys RV042

การบังคับให้แยกเน็ตและเกมส์ออกจากกันนั้นโ ดยปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นร้านเน็ตหรือหอพักที่เปิดอินเทอร์เน็ตให้ลูกค้าใช้นั้น มักจะโดน แอดมินเถื่อนหลอกให้ซื้อ Server ซึ่งมีราคาแพง แล้วแอดมินก็จะทำการลง Software Router ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรี(Open Source) เช่นพวก IpCop, Clark Connection, MoNo Wall แล้วนำมาคิดราคาค่าติดตั้งกับเจ้าของร้านเกมส์หรือว่าเจ้าของหอพักอีกทีนึง  ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ถูกต้องเท่าไหร่ เอาเปรียบกันเกินไป วันนี้ผมจึงจะนำเสนอการ คอนฟิกอุปกรณ์ที่สามารถแยกเน็ต แยกเกมส์ออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด โดยที่ท่านไม่จำเป็นต้องซื้อ Server ราคาแพงเลย
โดยอุปกรณ์ที่จะเอามาทำนั้นผมได้เลือกใช้ LoadBalance Router ยี่ห้อยอดนิยมอย่าง LinkSys รุ่น RV042......หุหุ โดยท่านต้องมีเน็ตสองเส้นนะครับ(2WAN) แนะนำว่าควรเป็นคนละ ISP เพราะเวลามันล่มมันจะได้ไม่ล่มพร้อมกัน การคอนฟิกตัวRV042 นั้นก็ทำแบบง่ายนะครับ คือผมจะใช้แยกโดยการ set port ของเกมส์ และ เน็ต
โดย
1. การใช้ Internet ทั่วไป จะใช้ Port ต่างๆ เช่น 80 , 21, 443 , 8080
2. เกมส์ต่างๆส่วนใหญ่ใช้ Port ที่อยู่ระหว่าง 1000-65535
ดังนั้นหลักการง่ายๆคือ
Port Internet คือ 0-999 และ 8080
Port Game (ไม่เอาเน็ต) ก็คือ 1000-8079 และ 8081-65535

ผมมีเครื่องอยู่ 70 เครื่องIP  192.168.212.101-192.168.212.170 (IP เครื่องแรก 192.168.212.101)
เครื่องผมเ องIP 192.168.212.2

ดังนั้นการคอนฟิกจะเป็นตามนี้ครับ
*การตั้งค่าให้ไอ้เจ้า RV042 ออกอินเทอร์เน็ตได้ทั้ง 2 WAN นั้นผมขอข้ามนะครับ คิดว่าท่านคงจะเป็นแล้ว แต่ถ้าใครไม่เป็นก็เม้นมาขอนะครับ

เริ่มแ รกก็เข้าไปที่ RV042 ผ่านทาง IE ก่อนนะครับโ ดยระบุ IP ของเ จ้า RV042 ไ ป เ ช่น http://192.168.212.1   แ ล้วทำการ Login ใส่ Username กับ Password ให้เรียบร้อย 
แล้วเข้าไปที่      Menu System Management หัวข้อแรก ก็คือ Dual-Wan
เพิ่ม Service โดยกดปุ่ม  System Management  จะได้ Popup windows มาแล้ว ใส่ Service Name ดังข้างล่างแล้ว กด Add to List
1. ServiceName TCPNET1, Potocal TCP, Port 0-999
2. ServiceName TCPNET2, Potocal TCP, Port 8080-8080
3. ServiceName UDPNET1, Potocal UDP, Port 0-999
4. ServiceName UDPNET2, Potocal UDP, Port 8080-8080
5. ServiceName TCPGAME1, Potocal TCP, Port 1000-8079
6. ServiceName TCGAME2, Potocal TCP, Port 8081-65535
7. ServiceName UDPGAME1, Potocal UDP, Port 1000-8079
8. ServiceName UDPGAME2, Potocal UDP, Port 8081-65535

แล้วก็มา Set 
TCPNET1, IP 192.168.212.101-192.168.212.170 --> WAN1
TCPNET2, IP 192.168.212.101-192.168.212.170 --> WAN1
UDPNET1, IP 192.168.212.101-192.168.212.170 --> WAN1
UDPNET2, IP 192.168.212.101-192.168.212.170 --> WAN1
TCPGAME1, IP 192.168.212.101-192.168.212.170 --> WAN2
TCPGAME2, IP 192.168.212.101-192.168.212.170 --> WAN2
UDPGAME1, IP 192.168.212.101-192.168.212.170 --> WAN2
UDPGAME2, IP 192.168.212.101-192.168.212.170 --> WAN2

ส่วนเครื่องของผมจะตั้งค่า IP 192.168.212.2 บังคับให้ all port (0-65535) ไปที่ WAN1 จะได้โหลด bit ได้โดยเกมส์ในวงแลนไม่แลคครับ    หุหุ
เท่านี้เป็นอันเสร็จครับ 

นับได้ว่าเจ้า LinkSys RV042 นี่ทำอะไรได้หลายอย่างครับ ทั้ง Internet Line Backup ทั้ง VPN ทั้ง Block Bit Torrent อีกมากมายที่ผมยังไม่รู้ .....หุหุ   เอาเป็นว่าถ้าผมลองเล่นดูแล้วมันได้ใ ช้งานจริง       ผมจะเอามานำเสนอให้ท่านได้อ่านแน่นอน หรือใครสนใจการคอนฟิกแบบไหนก็ฝากข้อความไว้นะครับ  จะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไป

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Network D.I.Y by LinkSys

อุปกรณ์เครือข่ายยอดนิยมสำหรับคน network ไม่มีใครไม่รู้จัก LinkSys ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นลูกของ Cisco มหาอำนาจในด้าน Computer Network ที่ครองโลกอยู่ขณะนี้ ทำไมผมถึงบอกว่า LinkSys นั้เป็นเหมือนลูกของ Cisco ก็เป็นเพราะว่าเจ้า Cisco นั้นได้รับประกันว่า ถ้าท่านเลือกใช้ LinkSys ก็สเมือนหนึ่งว่าท่านได้ื Cisco ไปใช้(Cisco Certifie) เหมือนๆกับเมื่อท่านเลือก NoteBook ยี่ห้อ Lenovo ไปใช้ก็สเมือนหนึ่งว่าได้ IBM ยังไงยังงั้น  โดย LinkSys นั้นมีอุปกรณ์ให้เราเลือกใช้หลากหลายมาก โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้

1. ADSL Router

2. Wireless Access Point

3. Router+Wireless+ADSL

4.LoadBalance Router

5.VPN Router 

โดยประสิทธิภาพของเจ้า LinkSys นั้นจะเอาไปเปรียบเทียบกับ Cisco นั้นย่อมไม่สามารถเทียบได้แน่นอน แต่ถ้าเป็นคู่แข่งในระดับเดียวกันแล้ว ก็นับได้ว่าเจ้า LinkSys นั้นคุ้มค่าคุ้มราคาพอสมควร ซึ่งการปรับแต่ง LinkSys เพื่อการใช้งานรูปแบบต่างจะนำมาเผยแพร่ในโอกาสต่อๆไปนะครับ

ปฐมบท

นี่เป็นครั้งแรกกับการเขียนบล๊อก เพราะมีเพื่อนมันบอกว่าน่าจะเขียนอะไรก็ได้เพื่อเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต คนจะได้รู้จักเราบ้าง ไอ้ผมก็งงว่าจะให้คนรู้จักไปทำไม เพราะไม่ได้คิดจะเล่นการเมืองซักหน่อย…หุหุ   แต่ก็รับฟังไว้ แล้วกลับมานั่งคิด นอนคิด ว่าจะเขียนเกี่ยวกับอะไรดี เพราะความรู้ที่มีเกี่ยวกับ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้ดีเด่อะไร  เรียกได้ว่าหางอึ่งเรียกพี่ ไอ้ครั้นจะไปเขียนเรื่องที่สนใจก็ไม่รู้จะเขียนยังไง เพราะเรื่องที่สนใจมันก็เสี่ยงคุกเสี่ยงตะรางซะนี่….สุดท้ายแล้วหลังจากใช้ซีรีบั่มน้อยๆคิดอยู่หลายวัน หวยก็มาออกที่การเขียนเกี่ยวกับเรื่อง อุปกรณ์เครือข่าย ที่ผมพอจะมีความรู้อยู่บ้างบวกกับการปฏิบัติงานจริง ในเรื่องการ คอนฟิกอุปกรณ์จำพวก Router, ADSL Router, Wireless, Swicth ทั้ง L2, L3 จึงคิดว่าน่าจะเขียนอะไรไว้ซะหน่อย จะได้ไม่ลืม…..วันไหนลืมจะได้กลับมาเปิดดู หรืออาจจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ชอบ D.I.Y เวลาอยากปรับแต่งอุปกรณ์เครือข่ายโดยไม่ต้องง้อ แอดมินเถื่อนๆ…..หุหุ