วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบการศึกษาไทยในอนาคต

ระบบการศึกษาไทยนั้น เป็นระบบที่ควรจะมีความยืดหยุ่นเอาความต้องการและศักยภาพของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เอาความต้องการของสถานศึกษาเป็นตัวตั้ง เพราะทุกวันนี้เด็กหลายคนที่ถูกบังคับให้เข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับเพราะ สถานศึกษานั้นต้องการจำนวนเด็กที่มากที่สุดเข้าไว้ เพราะจำนวนเด็กที่เข้าเรียนในสถานศึกษานั้นจะแปรผันตรงกับจำนวนเงินงบประมาณที่สถาศึกษาจะได้รับจากรัฐบาล เป็นเหตุให้เด็กหลายคนไม่สามารถที่จะเรียนรู้และใช้ความถนัดของตนเองได้อย่างเต็มที่ เช่น เด็กบางคน มีครอบครัวที่ทำอาชีพเพาะปลูกทำให้เด็กมีความสนใจและชอบในการเพาะปลูก แต่สถานศึกษาไม่ได้ส่งเสริมในเรื่องนี้แต่กลับไปส่งเสริมในเรื่องวิชาการ ซึ่งทำให้เด็กไม่ชอบและไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้ตามศักยภาพ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียน พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี จากกรณีนี้ถ้าวิเคราะห์ให้ดีจะพบได้ไม่ยากว่า ถ้าเด็กคนนี้ได้เรียนรู้อย่างเป็นระบบในกระบวนการเพาะปลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กคนนี้ชอบจะทำให้ประเทศไทยได้นักกสิกรรมมือฉกาจเพิ่มมา 1 คน แทนที่จะได้อันธพาล จากระบบการศึกษาภาคบังคับในปัจจุบัน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ระบบการศึกษาไทยจะแบ่งเป็น 2 ภาค
1. การศึกษาตามระบบ ซึ่งเน้นวิชาการที่จะทำให้ได้ผลผลิตเป็นนักวิชาการที่จะสร้างองค์ความรู้ใน การพัฒนาประเทศต่อไป
2. การศึกษาตามความถนัด ซึ่งเน้นวิชาชีพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมผู้เรียนตามความถนัด ตามศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งวิชาชีพที่มีในระบบการศึกษาตามความถนัดนี้อาจจะจำแนกคร่าวๆได้ดังนี้
1.1 วิชาชีพเกษตรกรรม แบ่งเป็น พืชสวน พืชไร่ ข้าว ผู้ที่จะเรียนได้ต้องมีที่ดินเป็นของตนเอง หรือของพ่อแม่
1.2 วิชาชีีพปศุสัตว์ แบ่งเป็น สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์กีบ ผู้ที่จำเรียนได้ต้องมีที่ดินของตนเองหรือของพ่อแม่
1.3 วิชาชีพบริการ เช่น พนักงานขับรถ พนักงานต้อนรับในโรงแรม ช่างตัดผม นวดแผนโบราณ ฯลฯ
1.4 วิชาชีพศิลปะ เช่น ช่างวาดภาพ ช่างปั้น ช่างหล่อ ช่างแกะสลัก
1.5...................
1.6..........................
1.7........................................
ฯลฯ

แนวคิดนี้เกิดขึ้นมาได้ไม่ใช่เพราะว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบันนั้นไม่ดี แต่จากการที่ได้เข้ามาอยู่ในแวดวงการศึกษากว่า 5 ปี ทำให้พบว่ากว่าเด็กบางคนจะตะกายออกจากระบบการศึกษาภาคบังคับเข้าไปสู่ภาค วิชาชีพ (เทคนิค อาชีวะ ) ได้นั้น บางคนก็มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดีแล้ว เพราะเกิดความเบื่อหน่ายกับการเรียนวิชาการอย่างเข้มข้นซึ่งเขาไม่ชอบ แต่ครูบาอาจารย์บางคนมักพูดติดปากว่า "ไม่ชอบก็ต้องเรียน" ทำให้ผมคิดว่าถึงเวลาปฏิวัติระบบการศึกษาไทยแล้ว เพราะการเรียนตามความชอบและความถนัดนั้นจะให้ประสิทธิภาพสูงสุด ตรงกับความต้องการของประเทศและตลาดแรงงานมากที่สุด ................ใครที่มีครอบครัวทำนามีที่นาแล้วไม่ชอบการเรียนวิชาการพวก ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ก็ไปเรียนการทำนาปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตเลิศ.......เด็กคนไหนที่ครบครัวทำสวน ผลไม้และชอบการเพาะปลูก ก็ไปเรียนการเพาะปลูกไม้ผลให้ได้ผลผลิตเลิศ ซึ่งอาจจะต้องใช้องค์ความรู้ของวิชาการแต่ก็ไม่เข้มข้นจนรู้สึกเบื่อหน่าย

ทำไมเราต้องไปเดินตามก้นต่างประเทศในเรื่องระบบการศึกษา
ทำไมเราต้องไปคิดว่าระบบการศึกษาของต่างประเทศเป็นระบบที่ดีที่"เหมาะสม" กับประเทศเรา
ทำไมเราไม่ลองมองย้อนกลับมาดูประเทศตัวเองว่ามีจุดแข็งอะไร
แล้วทำไมเราไม่ลองวิเคราะห์หาวิธีที่จะพัฒนาจุดแข็งของประเทศเรา โดย......................
ใช้ระบบการศึกษาของเราที่เรา "คิดเอง" เป็นตัวนำ