วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จิตสาธารณะ กฏหมายไม่คุ้มครอง




ในภาวะที่บ้านเมืองก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการแข่งขัน กิจกรรมทุกอย่างดูจะเร่งรีบไปเสียหมด
คนทำงานทุกคนล้วนแล้วแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตน โดยไม่แลเหลียวดูใครแม้กระทั่งคนรอบข้างจะได้รับเดือดร้อน จนคล้ายกับว่าความความมีน้ำใจไมตรี ชอบช่วยเหลือผู้อื่นของเราคนไทยนั้นดูจะเหือดหายไป จากสถานการณ์ที่กำลังดำเนินไปอย่างเชื่องช้าทว่าเร่งด่วนนี้ ทำให้มีหลายๆคน หลายๆองค์กร ได้ออกมารณรงค์ให้เราตระหนักถึงการธำรงค์รักษาไว้ซึ่งความมีน้ำใจไมตรี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ที่ถูกตั้งชื่อให้ใหม่อย่างเท่ห์ว่า "จิตสาธารณะ" แต่การมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นก็อาจจะส่งผลกระทบที่เราคาดไม่ถึง และสุดท้ายแล้วเราก็อาจจะต้องกลับมาทบทวนว่า การมีจิตสาธารณะ ของเรานั้นได้รับการคุ้มครอง หรือมีใครรับประกันได้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นถูกต้อง ดังเช่นเรื่องราวของ พนักงานขับรถของบริษัทไฟฟ้า ที่มีหน้าที่ขับรถพา วิศวกรไฟฟ้า ช่างไฟฟ้า และคนงาน ออกไปปฏิบัติงานตามเสาไฟฟ้าแรงสูงในวันหนึ่งขณะที่เหล่าวิศวกรไฟฟ้า ช่างไฟฟ้า และคนงานกำลังปฏิบัติงานบนเสาไฟฟ้าแรงสูง ปรากฏว่าขาดคนในการจับสายส่งไฟฟ้า พนักงานขับรถท่านนั้น เห็นเหตุการณ์กลัวงานจะล่าช้า จึงเกิด "จิตสาธารณะ" ได้ปีนขึ้นไปช่วย วิศวกร ช่างไฟฟ้า และคนงาน ในการปฏิบัติงานนั้น ระหว่างปฏิบัติงานบนเสาไฟฟ้าแรงสูงได้เกิดอุบัติเหตุกับ พนักงานขับรถท่านนั้นถูกไฟฟ้าแรงสูงช๊อต เป็นเหตุให้เสียชีวิตทันทีบนเสาไฟฟ้าแรงสูงนั้น เมื่อครอบครัวของพนักงานขับรถท่านนั้น ได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทไฟฟ้า ปรากฏว่าบริษัทไม่สามารถทำตามที่ร้องขอได้เพราะ พนักงานคนขับรถนั้นไม่ได้ตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หากแต่ตายเพราะไปปฏิบัติหน้าที่คนอื่น ดังนี้อาจจะกล่าวได้ว่า พนักงานขับรถคนนั้นตายเพราะการมี "จิตสาธารณะ" ที่สังคมต้องการ และอยากมี แต่กฏหมายไม่คุ้มครอง เพราะการตีความคำว่า "หน้าที่" และจิตสาธารณะ นั้นตีความต่างกันราวฟ้ากับเหว .