วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ดูแลระบบ Network โรงเรียน 3

ในบทความที่แล้วผมพูดถึงความรู้พื้นฐานที่ผู้ดูแลระบบของโรงเรียนต้องรู้ และในวันนี้ผมก็จะนำเสนอในส่วนของรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนต่างๆที่ผมได้ประสบพบเจอมา ว่ามีรูปแบบอะไรบ้าง

1. ADSL Broadband เป็นรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มีใช้ในโรงเรียนในเมือง ส่วนโรงเรียนในชนบทหมดสิทธิ์ครับ สำหรับโรงเรียนใดที่มีการเชื่อมต่อแบบนี้ นับได้ว่าโชคดีครับ เพราะไม่ว่าจะเรื่องความเร็วของสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือจะเป็นเรื่องความเสถียร นั้น ADSL กินขาดรูปแบบอื่นๆครับ สำหรับผู้ดูลแระบบนั้นก็นับว่าง่ายในการจัดการ เ พราะท่านอาจจะไ ม่ต้องทำอะไ รเ ลยก็ไ ด้ เ พียงแ ค่ติดตั้ง ADSL Router ใ ห้สามารถเ ชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้ได้ แล้วก็จัดการเสียบสาย LAN เข้ากับระบบเครือข่ายเดิมของโรงเรียนที่ท่านได้ทำไว้แล้ว เพียงแค่นี้ทุกๆเครื่องในโรงเรีัยนก็จะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่องโดยท่านไม่ต้องเสียเวลาในการติดตั้ง Server ต่างๆทั้ง Internet Gateway, DHCP Server, Proxy Server เพราะโดยปกติแล้ว ADSL Router จะสามารถให้บริการพื้นฐานต่างๆเหล่านี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าท่านอาจจะไม่สามารถไปจัดการอะไรได้มากเท่ากับท่านทำ Server เอง

2. IP Share เป็นรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เ น็ตแ บบเก่าที่โรงเรียนได้รับจัดสรร โดยอุปกรณ์จะมีอยู่ 2 ส่วน คือในส่วนที่เป็น Modem และส่วนที่เป็น IP Share โดยในส่วนหลังนี้จะเป็นตัวจัดการ IP ซึ่งโดยปกติแล้วตัวนี้จะแจก IP ออกไปประมาณ 25 เบอร์ เพราะรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบนี้ไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ได้มากเท่าไหร่ เพราะความเร็วของอิเนเทอร์เน็ตจะอยู่ที่ 56-128 kbps

3.IP Star เป็นรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่แพร่หลายมาก เพราะสามารถเข้าถึงโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่โครงข่ายโทรศัพท์ยังเข้าไปไม่ถึง โดยทั่วไปแล้วอุปกร์จะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นจานดาวเทียม และ ส่วนที่เป็นตัวรับส่งสัญญาณดาวเทียม Consumer Box ซึ่ง IP Star นี้จะทำการกำหนด Public IP ให้แต่ละโรงเรียนประมาณ 7 IPโดยใช้ได้จริง 5 IP เพราะเสียไป 2 IP คือในส่วนของ IP Gateway และ Boardcast IP และโดยมากแล้วผู้ดูแลระบบที่ยังไม่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการระบบเครือข่ายนั้น จะบอกว่า ได้ IP มา 5 เบอร์ มันก็ใช้อินเทอร์เน็ตได้แค่ 5 เครื่อง อันที่จริงก็ถูกเพราะมันใช้ได้ 5 เครื่องจริงๆถ้าไม่ีมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งรูปแบบการเชื่อมต่อนี้นับได้ว่า ผู้ดูแลระบบของโรงเรียนนั้นสามารถบริหารจัดการได้อย่างหลากหลาย ตามศักยภาพของตนเอง โดยท่านสามารถใช้ 1 IP ในการทำ Internet Gateway+DHCP+Proxy+Firewall ใ้ห้เด็กนักเรียนใช้โดยสามารถป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้ด้วย SquidGard แล้วใช้อีก 1 IP ในการทำ Internet Gateway+DHCP+Proxy+Firewall ให้กับคณะครูผู้สอนและู้บริหาร ซึ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของครูและนักเรียนจะสามารถบริหารจัดการได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งการทำเพียงเท่านี้ก็นับว่าเพียงพอแล้วสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก-กลาง แต่ถ้าความเร็วของอิเนเทอร์เน็ตสูงพอที่จะทำ Web Server ได้ท่านก็สามารถนำอีก 1 IP มาจัดการติดตั้ง Apache เพื่อทำ web Server ของโรงเรียนโดยไม่ต้องไปเช่าพื้นที่ Host ให้เปลืองเงินโรงเรียน แต่ท่านต้องแน่ใจว่าความเร็วอินเทอร์เน็ตของท่านต้องเร็วพอ(2 Mbps ทั้ง Upload และ DownLoad เป็นอย่างน้อย )

4. Hi-Speed Internet ( Frame Relay ) เป็นรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบใหม่ที่จะมีใช้เฉพาะโรงเรียนโครงการพิเศษต่างๆ เช่น โรงเรียนในฝัน หรือ โรงเรียนดีใกล้บ้าน ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะมีความคล้ายคลึงกันกับ IP Star ต่างกันตรงที่ IP Star ใช้จานดาวเทียมในการ รับ-ส่งสัญญาณ แต่เ จ้า Hi-Speed Internet ( Frame Relay ) ใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาๆนี่แหละ แต่เชื่อมไปยังตู้ชุมสาย CDMA ของ CAT โดยตรงแล้ววิ่งจากตู้ชุมสายผ่าน Firber optic เข้ากรุงเทพโดยตรง ทำให้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตนั้นจะสูงกว่ารูปแบบอื่นๆ(ที่ Speed เท่ากัน ) ซึ่งโดยปกติแล้วอุปกรณ์การเชื่อมต่อจะมีสองส่วน โดย ส่วนแรกจะเป็น Frame Relay Modem และ Router โดยปกติจะเป็นของ Cisco 1841 ซึ่งผู้ดูแลระบบของโรงเรียนจะไม่ได้รับอนุญาติเข้าแก้ไขหรือปรับแต่ง Router แต่ถ้าท่านอยากทำแนะนำให้ไปลองหาโปรแกรมจำลองการทำงานของ Cisco Router มาลองเล่นดูแล้วท่านจะพบวิธีการเข้าไปจัดการเอง ส่วนการจัดการอื่นๆท่านสามารถทำได้เหมือนกับ IP Star ทุกประการ เพราะได้ Public IP มา 7 IP เหมือนกัน

สรุปนะครับว่ารูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนในประเทศไทยจะมีอยู่ 4 รูปแบบใหญ่ๆนี้ น้อยมากที่จะมีการเชื่อมต่อแบบ Lease Line เพราะการเชื่อมต่อแบบนี้แพงมาก เมื่อท่านอ่านบทความนี้แล้วท่านก็ลองไปวิเคราะห์ดูว่าโรงเรียนของท่านมีรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นแบบใด และท่านจะสามารถทำอะไรได้บ้างในการบริหารจัดการ ซึ่งการติดตั้ง Server ต่างๆเพื่อให้บริการในโรงเรียนนั้นผมจะได้นำเสนอในบทความต่อๆไป

ไม่มีความคิดเห็น: