วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดูแ ลระบบ Network โรงเรียน 6(ติดตั้ง Linux SIS)

หายไปนานนะครับสำหรับการอัฟบล๊อก ที่หายไปเพราะติดงานจริงๆครับยุ่งมั่กๆเพราะเปิดเทอมใหม่ ไม่ได้หายไปกับม๊อบใดๆแน่นอน…..ซึ่งกลับมาครั้งนี้ผมก็อยากจะนำเสนอการทำให้ Network โรงเรียนสามารถใช้งานได้จริงๆ ด้วยการติดตั้ง Internet Gateway ให้ทำหน้าที่บริการ การเข้าถึง Internet ของผู้ใช้ภายในโรงเรียน โดยไอ้เจ้า Internet Gateway นี้จะมีบริการหลักๆอยู่ดังนี้ 

          1. NAT ซึ่งหมายถึงอะไรก็ขอให้กลับป่านบทความที่ผ่านๆมา 
          2. DHCP ย้อนกลับไปดู ท้ายข้อที่ 1 
          3. Proxy ย้อนกลับไปดูท้ายข้อที่ 2   อิอิ

โดยโปรแกรมที่จะใช้ในการนี้ก็คือ Linux SIS 5.5 ของทาง Nectec เค้า ซึ่งจะว่าไปแล้วไอ้เจ้า Linux SIS นี้ก็มีความสามารถหลายอย่างพอสมควร อีกทั้งยังติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย ถ้าท่านใช้งาน Linux SIS มากกว่าที่ผมกล่าวมาในข้างต้นก็สามารถทำได้โดย เข้าไปหาคู่มือ Linux SIS ในเว็บไซต์ได้ ที่ไม่เอาลิงค์มาให้เพราะผมจะเว็บที่ว่านี้ไม่ได้แล้วนั้นเอง.....ก่อนอื่นต้องมาดูรูปแบบการเชื่อมต่อก่อนครับว่าเราจะเอาไอ้เจ้าเครื่องที่ติดตั้ง Linux SIS ไว้ตรงไหนของ Network โรงเรียน ของเรา


จากรูปนะครับ ผมจะวางไอ้เจ้า Linux SIS ไว้หลัง Switch หรือว่าหลัง Consumers box (สำหรับโรงเรียนใดที่ไม่มีโทรศัพท์) ซึ่งเครื่องทีค่จะติดตั้ง Linux SIS นี้ต้องมี LAN สองใบนะครับ ส่วนสเปกต่างๆของเครื่องก็ เอาตามกำลังของโรงเรียนนะครับ มีกำลังมากหน่อยก็เล่น Server ของจริงไปเลยซึ่งราคาปัจจุบัน มีเงิน สองหมื่นปลายๆ ก็ได้แล้วครับ ถ้ากำลังน้อยหน่อยก็เอา PC ธรรมดานี่แหละ สเปก P4+RAM 512+HDD 40 GB ราคาหลัก พัน ก็น่าจะพอแล้วหล่ะครับ 

ขั้นตอนการติดตั้ง Linux SIS

1. ต้องไปตั้งค่าใน BIOS ของเครื่องก่อนนะครับว่าให้มันบู๊ทจากแผ่น จากนั้นก็ใส่แผ่น Linux SIS เข้าไปใน CD-ROM แล้วเปิดเครื่อง มันก็จะบู๊ทและทำงานไปเรื่อย และก็จะถามว่าคุณจะทำอะไร ดังรูป 



เราก็เลือก Install Linux SIS 5.5 แล้วเคาะ Enter ถ้าใครที่เชี่ยวๆหน่อยก็เลือกติดตั้งแบบ texe mode ก็ได้นะครับ อันนี้ไม่ได้ห้าม

2. จากขั้นตอนที่แล้วเมื่อเราเคาะ Enter แล้วก็กดปุ่ม Next มันก็จะถามว่าจะให้ลบข้อมูลเลยมั้ย คือจะ ฟอร์แมท พาร์ทิชั่นให้เรานั่นเอง ดังรูป


เรากดปุ่ม Yes  แล้วตามด้วย ปุ่ม Next โลด


3. ขั้นตอนนี้จะเป็นการเริ่มแบ่งพาร์ทิชั่นของ ฮาร์ดดิสก์ โดยผมสร้าง / (root) อ่านว่า รูทพาร์ทิชั่น เป็นอันดับแรก โดยกำหนดขนาดเป็น 4096 MB แต่ในรูปดันเป็น 512 MB อันนั้นกำหนดผิดอ่ะครับแต่ไม่ได้เปลี่ยนรูป อย่าสงสัยเรื่องขนาดครับ เพราะผมก็ไม่รู้รายละเอียด(ผมจะรู้อะไรๆก็ต่อเมื่อผมติดปัญหา  ตอนนี้ไม่ติดอะไรผมก็เลยกำหนดส่งๆไป แค่นั้นเองแหละครับ)

จากขั้นตอนที่แล้วก็กด New เลยครับ จะได้หน้าตาดังรูปนี่แหละ ตรง Mount Point เราก็เลือก / แล้วก็เลือก File System Type เป็น ext3 ขนาดก็ตามที่บอกไว้ข้างบนครับ

4. ขั้นตอนนี้ก็สร้าง /boot พาร์ทิชั่นต่อเลยครับ ตามรูป

5. ขั้นตอนนี้ก็เป็นการสร้าง swap นะครับ  ขั้นตอนก็เหมือนขั้นตอนที่ผ่านมา เพียงแค่เปลี่ยน File System Type จาก ext3  เป็น swap ดังรูป

กำหนดขนาด swap ให้มีขนาดเป็น สองเท่าของ RAM นะครับจะดีที่สุด(เค้าว่างั้นนะ)

6. ขั้นตอนนี้ก็สร้าง /home พาร์ทิชั่น  ดังรูป

โดยกำหนดขนาดให้มันขยายได้เต็มพื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์

7. เมื่อสร้างพาร์ทิชั่นเสร็จแล้วก็จะแสดงรายงานขึ้นมา ดังรูป

เสร็จแล้วก็กด Next โลด

8. ขั้นตอนนี้มันจะถามว่าเราจะติดตั้ง Boot Loader หรือไม่ เราก็ติดตั้งไปเหอะ กดปุ่ม Next โลด ดังรูป

9. ติดตั้ง Boot Loader เสร็จแล้วมันก็จะตรวจเช็ค packet ที่ต้องการในการติดตั้งแล้วเริ่มการติดตั้ง  ดังรูป

เราก็นั่งรอไปเรื่อยๆจนกว่ามันจะทำการติดตั้งเสร็จ

10.เมื่อติดตั้งเสร็จมันก็จะแสดงผลดังรูป

เราก็เอาแผ่นติดตั้งออกแล้วกด reboot โลด

 

เท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการติดตั้งครับ ไม่ยากใช่มั้ยครับ แต่บางคนก็จะกลัวว่า เฮ้ย !! มันเป็น ลินุก  มันยากนะ  ซึ่งผมขอบอกเลยว่า ถ้าพูดคำนี้เมื่อ 7-8 ปีที่แล้วยอมรับครับว่าจริง  แต่ทุกวันนี้ไอ้เจ้า Linux ชักจะเหมือน วินโดว์เข้าไปทุกที  เพราะติดตั้งก็ง่าย ใช้งานก็ง่าย จนทุกวันนี้ผมไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่า Linux ยาก ฉะนั้นอย่ากลัวครับ   ก้าวต่อไป!! (คุ้นๆแหะ)      

ไม่มีความคิดเห็น: